ความรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.เทคโนโลยีจอแสดงผล
จอภาพ LCD และ CRT
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก การใช้เครื่องมือต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการแสดงผลเพื่อที่จะให้ข้อมูลข่าวสารปรากฎแก่สายตาของผู้ใช้พัฒนาการของจอภาพจึงต้องพัฒนาตามอย่างต่อเนื่อง ![]()
คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ขึ้นกับการแสดงผล
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องติดต่อกับเครื่องผ่านทางเป้นพิมพ์และ
แสดงผลออกมาทางจอภาพและการแสดงผลนั้นก็ได้รับการพัฒนาจากหลอดภาพ CRT และแผงแสดง LCD
CRT มีการใช้กันอย่างกว้างขวางเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามานาน CRT เป็นจอภาพที่ใช้กับโทรทัศน์และ พัฒนาต่อให้ใช้กับจอภาพของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้มีการผลิตจอภาพหลายสิบล้านเครื่องต่อปี หากพิจารณาที่เเทคโนโลยีการแสดงผล โดยพิจารณาหลักการของการใช้แสงเพื่อสร้างงาน เราสามารถแบ่งแยกหลักการออกเป็น 2 ประเภท
1.
การให้แหล่งกำเนิดแสงแสดงภาพและตัวอักษรดยตรง
หลักการนี้ใช้ในจอภาพ CRT ซึ่งอาศัยลำอิเล็กตรอนกระทบกับสารเรืองแสงที่ติดอยู่กับจอภาพ สารเรืองแสงจะเปล่งแสงออกมาใมห้ตามองเห็น
2.
การใช้แสงที่มีอยู่แล้วให้เกืดคุณค่า
3.
โดยการใช้หลักการสะท้าน หรือสร้างสิ่งแวดว้อมให้ส่องทะลุ
กล่าวคือ ปิดเปิดลำแสงที่มีอยู่แล้วด้วยการ ให้ส่องทะลบุผ่านหรือกั้นไว้
หรือสะท้อน เป็นลักษณะของเทคโนโลยี LCD ( Liquid Crystal ) แผงแสดงผลึกเหลว
![]() อย่างไรก็ดี การแสดงผลบนจอภาพส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี CRT เพราะ CRT มีราคาถูกกว่า มีการพัฒนามานาน มีการผลิตในขั้นอุตสาหกรรมมาก มีความทนทาน เชื่อถือได้ CRT จึงเป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้น สำหรับ LCD นั้นได้เริ่มนำมาใช้ในจอแสดงผลในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแลปท็อป แบบโน๊ตบุ้ค แบบพาล์มท็อป การแสดงผลของ LCD มีลักษณะแบบแบนราบ น้ำหนักเบา กินไฟน้อย
พัฒนาการของ LCD
LCD มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มจากการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกาดิจิตอล หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น เทคโนโลยี LCD เป็นเทคโนโลยีที่มียุคสมัย และแบ่งยุคได้ตามการพัฒนาเป็นขั้นๆเหมือนยุคของคอมพิวเตอร์
ในยุคนี้เป็นยุคที่เริ่มต้นของการพัฒนา LCD
เทคนิควิธีการที่ใช้เป็นแบบ DMS ( Dynamic Seattering
Method )และ TN ( Twisted Nematic ) ข้อเด่นของเทคโนโลยีนี้คือ
ใช้กำลังงานไฟฟ้าต่ำ ใช้แรงดันต่ำ เหมาะสมที่จะใช้งานกับเทคโนโลยี CMOS จึงนำมาประยุกต์ใช้ในเครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯลฯ
การประยุกต์ใช้งาน LCD เริ่มกว้างขวางมากขึ้น
เทคโนโลยีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบTNโดยพัฒนาให้แผงแสดง
มีลักษณะบางและ กระทัดรัดและเริ่มใช้ตัวสะท้อนให้มีสี
การประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯลฯ
ในยุคนี้มีการผลิตแพร่หลาย มีการตั้งโรงงานการผลิต LCD
กระจายขึ้นทั่วโลก เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ TN และ GH ( Guest Host ) ข้อเด่นที่ได้ในยุคนี้ก็คือ
LCD มีความเชื่อถือสูง มีความคงทน มีความเข้มคมชัด
ีความเร็วในการตอบสนองต่อสัญญาณ ไฟฟ้าได้เร็ว
การขยายการใช้งานจึงกว้างขวางขึ้นมาก
มีการประยุคใช้ในกล้องถ่ายรูปรถยนต์แผงแสดงของจอคอมพิวเตอร์เกม
และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ การก้าวเข้าสู่รถยนต์ก็เพราะว่าสามารถลดอุปกรณ์การวัดที่ต้องอาศัยกลไกมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์
ได้มาก การแสดงผลเป็นแบบพาสซีฟจึงไม่สามารถสร้างความเครียดให้กับสายตา
การใช้งานกว้างขวางและมีตลาดรองรับอยู่มาก
เทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาในยุคนี้คือ การใช้ TFT หรือ Thin Film
Transistor เพื่อสร้างจอภาพแสดงผลแบบแอคตีฟ ข้อดีคือ
สามารถมัลติเพล็กซ์สัญญาณการแสดงผลได้เร็วทำให้จอภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาถูกลง
แสดงสีได้เหมือนนนธรรมชาติ การประยุกต์ใช้งานจึงเน้นจำพวกโทรทัศน์จอแบน
จอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องมือวัด เกม ฯลฯ
ความแตกต่างระหว่าง LCD กับ CRT LCD เป็นแผงแสดงผลที่แตกต่างจาก CRT ตรงที่ตัว LCD ไม่ได้เปล่งแสงออกมา แต่ใช้หลักการควบคุมแสง จึงมีข้อเด่นมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับ CRT จุดเด่นของ LCD จึงแสดงผลได้แม้ในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงจ้าหรือ กลาง แจ้ง การมองเห็นทำได้อย่างชัดเจนไม่จางเหมือนอุปกรณ์ ที่ กำเนิดแสงเช่น CRT หรือ LED LCE ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำมากโดยทั่วไปใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 1 -10 MicroWatt per Cm ใช้แรงดันไฟฟ้าขับที่แรงดันต่ำ จึงใช้วงจร CMOS ที่ทำงานเพียง 3 Volt ก็สามารถขับ LCD ได้จึงใช้ในวงจรรคอมพิวเตอร์หรือ วงจรดิจิตอลทั่วไปได้ แหล่งจ่ายไฟสำหรับ LCD ใช้แหล่งเดียวและะแรงดันไฟฟ้าระดับเดียว จึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งาน ![]()
การแสดงผลของ LCD มีความคมชัด
ไม่มีการกระพริบหรือภาพสั่นไหวไม่สร้างสัญญาณเสียงรบกวน มีขนาดกกะทัดรัด
น้ำหนักเบา แบนราบ ขนาดแสดงผลมีขนาดเหมาะสมกับการประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ
ผู้ออกแบบการแสดงผลทำได้ตามต้องการ ด้วยเทคโนโลยี LCD แสดงผลในลักษณะหลายสี
เหมือนจอ CRT ได้
การเชื่อมต่อไม่ต้องมีกลไกจึงทำให้ออกแบบประยุกต์ได้ง่าย
หลักการเบื้องต้นของ LCD
สารผลึกเหลวที่ใช้ใน LCD นั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่จัดได้ว่าเป็นสารใหม่ที่พัฒนากันมาเมื่อไม่นานนี้ คำว่าผลึกเหลว ( Liquid Crystal ) หมายถึง สารที่อยู่ระหว่างของแข็งกับของเหลว ปกติสารทั่วไปเมื่อเป็นของแข็งที่อุณหภูมิหนึ่งครั้นได้รับอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะหลอมละลายเป็นของเหลว แต่สำหรับผลึกเหลวนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างสำหรับสถานะที่อยู่ระหว่าง ของแข็งกับของเหลว
สำหรับหลักการทำงานของมันนั้น
ปรากฏการณ์ของผลึกเหลวเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะพิเศษสารอื่นๆ ในสถานะปกติ
เมื่อยังไม่มีแรงดันไฟฟ้าป้อนให้ โมเลกุลของผลึกเหลววางตัวเป็นเกลียวในแนวคอลัมน์
แต่เมื่อ้อนแรงดันไฟฟ้าให้กับผลึกเหลว
โครงสร้างโมเลกุลจะกระจักกระจายอย่างสุ่มดังภาพ
![]()
โครงสร้างผลึกที่จัดตัวเป็นเกลียวจะทำให้แสงผ่านทะลุลงไปได้
แต่เมื่อมีสนามไฟฟ้า ผลึกจะกระจัดกระจาย แสงจึงผ่านไปไม่ได้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดลักษณะการแสดงผลเป็นแบบขาวดำ
รวบรวมจาก บทเรียน Online
วิชา 204323 ไมโครโปรเซสเซอร์และการออกแบบไมโครคอมพิวเตอร์
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
|
คอมพิวเตอร์นาโน
คอมพิวเตอร์นาโนเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับนาโนในการผลิต ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีแนวโน้มที่จะทวีความสำคัญและได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าจากการพัฒนาและความก้าวหน้าทางด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจะผลิต และสร้างชิ้นส่วนสำหรับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กลงได้อีกมาก
(จนถึงระดับนาโนเมตรเลยทีเดียว) และสามารถนำมาประกอบกันและผลิตเป็นคอมพิวเตอร์นาโนได้
ซึ่งในอนาคตอาจจะทำให้เราได้มีโอกาสใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง
มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก และมีสมรรถนะในการใช้งานที่สูงขึ้นอย่างมากอีกด้วย ที่สำคัญสามารถที่จะนำมาใช้งานเฉพาะทาง และประยุกต์ใช้สำหรับงานทั่วไปได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเกทพื้นฐานเชิงตรรกะ
(logic gate) ที่ประกอบไปด้วยอะตอมเพียงไม่กี่อะตอมภายในระบบของคอมพิวเตอร์นาโน
|
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์แล้ว
สามารถจะคาดการแนวโน้มของการพัฒนารูปแบบคอมพิวเตอร์นาโนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการใช้งานดังต่อไปนี้
3.คอมพิวเตอร์นาโนที่อาศัยโครงสร้างของโมเลกุล/โครงสร้างโมเลกุลทางเคมี
(Biochenical/Chemical Nanocomputer
เป็นคอมพิวเตอร์นาโนที่ทำงานโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีของการสร้าง
หรือการสลายพันธะทางเคมีหรือชีวเคมีเป็นตัวดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูลและส่งผ่านข้อมูล และคอมพิวเตอร์นาโนนี้สามารถดำเนินการเชิงตรรกะได้ จากการปรับเปลี่ยนการจัดเรียงตัวของโครงสร้างโมเลกุลและโครงสร้างทางเคมีของสารต่างๆ
หรือจากการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารต่างๆ ที่ทำปฏิกิริยาต่อกัน
ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์นาโนที่อาศัยโครงสร้างของชีวโมเลกุล/โครงสร้างโมเลกุลทางเคมีที่อาจจะเกิดขึ้นนี้
ได้แก่ คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ (DNA computer) ที่อาจจะใช้โปรตีนเป็นเสมือนฮาร์ดแวร์
และใช้ลำดับเบสของสายดีเอ็นเอเป็นเสมือนซอฟแวร์ เป็นต้น
4.คอมพิวเตอร์นาโนเชิงกล (mechanical Nanocomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์นาโนที่ทำงานเชิงตรรกะ
ได้โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของเครื่องกลขนาดเล็กระดับโมเลกุล
ที่ทำหน้าที่ประสานร่วมกันระหว่างเฟือง เพลา เกียร์ ลูกปืนลดแรงเสียดทาน
และอุปกรณ์เชิงกลต่างๆ ที่มีขนาดระดับนาโนเมตรทั้งสิ้น
ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้ท่อนาโนคาร์บอนเป็นโครงสร้างหลักในการผลิตอุปกรณ์เชิงกลเหล่านี้
(เพราะในปัจจุบันมีการนำท่อนาโนคาร์บอนมาใช้ในงานเชิงกลแล้วอย่างหลากหลาย) แต่อย่างไรก็ตามสำหรับคอมพิวเตอร์นาโนเชิงกลนี้
ยังเป็นเรื่องที่จะต้องใช้การศึกษาและพัฒนาอีกเป็นอย่างมากกว่าจะสามารถผลิตขึ้นมาและนำมาใช้งานได้จริง
(ก็คือกว่าจะสามารถสร้างหรือผลิตอุปกรณ์เชิงกลต่างๆ
ที่มีขนาดระดับนาโนเมตรได้จริงนั่นเอง)
ตัวอย่างการออกแบบลูกปืนลดแรงเสียดทานระดับนาโนที่จะนำมาใช้งานในการสร้างเป็นคอมพิวเตอร์นาโนเชิงกล
|
5.คอมพิวเตอร์นาโนระดับควอนตัม (Quantum Nanocomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์นาโนที่สามารถประมวลผลหรือทำงานเชิงตรรกะได้
โดยอาศัยสถานะทางควอนตัมของอะตอมของอนุภาคภายในอะตอม (subatom) โดยมีหน่วยพื้นฐานในการส่งผ่านข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เรียกว่าคิวบิต (qubit) ซึ่งถูกควบคุมด้วยคุณสมบัติเชิงแม่เหล็กของอะตอมแต่ละอะตอมในแต่ละช่วงเวลา
โดยในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์โมเลกุลของสารอินทรีย์บางชนิด
ให้เป็นตัวกำหนดคิวบิตของคอมพิวเตอร์นาโนเชิงควอนตัมอย่างง่ายได้แล้ว
ทำให้ความหวังในการพัฒนาคอมพิวเตอร์นาโนเชิงควอนตัมนี้ ไม่ไกลจากความเป็นจริงในการที่จะสามารถสร้างและนำมาใช้งานได้มากนัก
โครงร่างพิมพ์เขียวของคอมพิวเตอร์ควอนตัมซิลิกอน
(siligon
quantum computer ) ที่ถูกออกแบบและกำลังจะพัฒนานำไปใช้ในการสร้างคอมพิวเตอร์นาโนระดับควอนตัม
6.การผลิตไอซี - บทบาทของไมโครเทคโนโลยี
ถึงแม้ปัจจุบันการผลิตชิพไอซีจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากจนกระทั่งคนในวงการอุตสาหกรรมเรียกมันว่าไฮเทคโนโลยีก็ตาม
ขั้นตอนและกระบวนการที่ใช้ผลิตก็ยังอาศัยแบบแผนที่คิดค้นขึ้นมาตั้งแต่สมัยของเออร์นี
และ นอยซ์
การผลิตชิพนั้นเริ่มต้นโดยการนำทรายมาแยกเอาซิลิกอนที่มีความบริสุทธิ์สูง
ระดับ 99.9999999 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็คือในหนึ่งพันล้านอะตอมนั้น
จะมีอะตอมของธาตุอื่นปลอมปนมาได้ไม่เกินหนึ่งอะตอมเท่านั้น
โดยปล่อยให้ซิลิกอนตกผลึกเป็นแท่งกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 6 ถึง 8 นิ้ว จากนั้นนำแท่งซิลิกอนมาฝานออกเป็นแผ่นกลมบางๆ
ที่มีความหนาขนาด 0.002 นิ้ว ที่เรียกว่าแผ่นเวเฟอร์ (wafer) ขั้นตอนต่อไปก็คือ
ทำให้ผิวของเวเฟอร์นั้นอยู่ในรูปของออกไซด์ โดยนำไปสัมผัสกับไอน้ำร้อนๆ
ออกไซด์ดังกล่าวมีประโยชน์ในการเป็นฉนวนไฟฟ้า เป็นตัวควบคุมสนามไฟฟ้า
เป็นตัวป้องกันการโดพ (dope) สารในบริเวณที่ไม่ต้องการ
เนื่องจากความสามารถในการป้องกันแผ่นเวเฟอร์ จากการรบกวนจากภายนอกของชั้นออกไซด์
แผ่นเวเฟอร์จึงแทบจะไม่มีประโยชน์เลยหากถูกเคลือบโดยออกไซด์ทั้งหมด
ขั้นตอนต่อไปจึงต้องทำการขจัดชั้นของออกไซด์ออกไปในบริเวณที่จะใช้งาน
วิธีนี้เรียกว่าวิธีสร้างลายวงจรด้วยแสง (Photolithography) โดยนำแผ่นเวเฟอร์มาเคลือบด้วยสารเคมีที่ไวต่อแสง
โดยสารเคมีดังกล่าวจะละลายในตัวทำละลายได้ดีหากโดนแสง
ดังนั้นเมื่อนำลายวงจรมาเป็นฉากกั้นหน้าแผ่นเวเฟอร์ แล้วฉายแสงลงไปบนฉาก
บริเวณที่แสงส่องลงไปโดนเวเฟอร์นี้
แสงจะไปเปลี่ยนคุณสมบัติของสารเคมีที่เคลือบอยู่ทำให้ละลายออกได้ง่าย ซึ่งเมื่อผ่านตัวทำละลายลงไป
มันก็จะไปขจัดเอาชั้นออกไซด์ออกไปด้วย
ส่วนบริเวณที่ไม่โดนแสงก็ยังคงมีชั้นออกไซด์นั้นอยู่ ดังนั้นการทำ Photolithography หลายๆ ครั้ง ก็จะสามารถสร้างลายวงจรที่มีความซับซ้อนได้
แผ่นเวเฟอร์หนึ่งแผ่นสามารถผลิตชิพได้นับร้อย
สี่เหลี่ยมสีแดงในภาพคือขนาดของวงจรรวมทั้งหมดที่จะนำไปบรรจุในชิพ (ภาพจาก Fullman Company)
|
เมื่อได้แผ่นเวเฟอร์ที่มีลายวงจรมาแล้ว
แผ่นเวเฟอร์จะถูกนำมาโดพด้วยสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้ซิลิกอนมีสมบัตินำไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ทำให้เสมือนกับสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ ภายในแผ่นเวเฟอร์
จากนั้นจะเคลือบแผ่นเวเฟอร์ในบางบริเวณด้วยฟิล์มบาง
เสมือนกับการต่อสายไฟให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบนแผ่นเวเฟอร์เชื่อมโยงกัน
จากนั้นนำแผ่นเวเฟอร์ไปตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีวงจรรวมอยู่และประกอบเป็นชิพ
แผ่นเวเฟอร์หนึ่งแผ่นจะสามารถสร้างชิพได้เป็นจำนวนนับร้อยเลยทีเดียว
7.เทคโนโลมัลติมีเดีย
ความหมายของมัลติมีเดีย
"มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ
เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้
มัลติมีเดียมีองค์ประกอบสำคัญ 4
ประการ คือ
1.
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นได้ยิน
สามารถโต้ตอบแบบปฏิสัมพันธ์ได้
2.
การเชื่อมโยง สื่อสาร ทำให้สื่อต่าง ๆ
ไหลเข้ามาเชื่อมโยงและนำเสนอได้
3.
ซอฟต์แวร์ ทำให้เราท่องไปในเครือข่ายที่เชื่อมโยงข่าวสาร
4.
มัลติมีเดีย ต้องให้เราในฐานะผู้ใช้สามารถสร้าง ประมวลผล
และสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ได้
มัลติมีเดียจึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่างที่ประกอบกัน
หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็ไม่สามารถเรียกว่า "มัลติมีเดีย"
เช่นถ้าขาดคอมพิวเตอร์จะทำให้เราไม่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้
สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัลติมีเดีย..น่าจะเรียกว่าการแสดงสื่อหลายสื่อ
แต่ถ้าขาดการเชื่อมโยงสื่อสาร ก็จะเหมือนกับเป็นข่าวสารไว้ในชั้นหนังสือ
หรือถ้าขาดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เราท่องไปหรือมีส่วนเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วยก็จะเหมือนกับดูภาพยนตร์และถ้าขาดช่องทางที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปมีส่วนร่วม
ก็จะเหมือนกับโทรทัศน์
ช่องสัญญาณสื่อสารสำคัญต่อมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียประกอบด้วยเทคโนโลยีการสร้างและประมวลผลวีดีโอ
ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและรูปภาพ เมื่อมีการสื่อสารร่วมด้วย
ทำให้ต้องใช้ช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างมาก (Hing
Bandwidth) รองรับการทำงานสื่อสารสองทิศทาง
โดยเน้นการย่นระยะทางไกล ๆ ให้เสมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารข้อมูลที่รองรับมัลติมีเดียต้องมีการรับประกันการบริการ
(QoS - Quality of Service) กล่าวคือ
การับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายข้อมูล
ดังนั้นข้อมูลจะต้องถึงปลายทางตามกำหนดเวลา
และให้รูปแบบที่ต่อเนื่องได้ลองนึกดูว่าหากต้องการส่งหรือรับข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวก็ดี
เสียงก็ดีจะต้องมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะขาดหายเป็นช่วง ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
คุณภาพของระบบมัลติมีเดียจึงเกี่ยวโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอันรวดเร็วมากของซีพียูในคอมพิวเตอร์ด้วย
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล
สิ่งที่สำคัญตามมาคือ
"มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น
MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย
ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น
การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง
ชนิดของโปรโตคอลสื่อสาร
เราแบ่งแยกชนิดของโปรโตคอลสื่อสารให้รองรับในระบบมัลติมีเดียออกเป็น
2 แบบคือ "โปรโตคอลเชื่อมโยง (Connection
Protocol)" และ "โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง (Connection
Protocol)"
"โปรโตคอลเชื่อมโยง" หมายถึง ก่อนการรับส่งสายข้อมูลจริง จะต้องมีการตรวจสอบสำรวจหาเส้นทาง
เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งเชื่อมโยงกันได้ก่อน
จากนั้นสายข้อมูลจึงจะไหลไปตามการเชื่อมโยงนั้น
"โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง" อาศัยการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีการกำหนดแอดเดรสไว้บนแพ็กเก็ต
อุปกรณ์สื่อสารบนเส้นทางจะส่งต่อกันไปจนถึงปลายทางได้เอง
ดังนั้น
การใช้มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงต้องมีการพัมนาเทคโนโลยีต่าง ๆ
บนโปรโตคอลทั้งสองนี้ให้ใช้งานได้บนเครือข่าย
ลักษณะของการประยุกต์มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงมีหลายรูปแบบ คือ
"การสื่อสารแบบ Broadcast" คือสถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอให้บริการ
(Client) ที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน
โดยต้องการให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับได้ นั่นคือร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้
เป็นต้น
"การสื่อสารแบบ Unicast or
pointcast" เป็นการกระจายข่าวสารจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลแอนต์ในลักษณะเจาะจงตัว
เช่น
เซิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการข่ายผู้ใช้อยู่ที่บ้านต้องการรับข่าวสารก็สามารถบอกรับ
โดยเลือกหัวข้อข่าวสารต่าง ๆ ตามที่ตนเองสนใจ
เมื่อเซิร์ฟเวอร์มีข่าวใหม่ในหัวข้อที่ผู้ใช้คนใดสนใจก็จะติดต่อส่งข่าวสารมาให้โดยเลือกส่งเฉพาะบุคคล
"การสื่อสารแบบ Multicast" การสื่อสารแบบนี้แตกต่างจากแบบ Broadcast ซึ่งกระจายข่าวสารทั่วทั้งเครือข่าย
แต่ Multicast จะกระจายแบบเจาะจงไปยังผู้ใช้ตามที่ได้เรียกขอมา
![]() MBONE ทำให้สารสื่อสารข้อมูลที่ไปยังผู้ใช้ ลดลงเหลือเพียงสายเดียว
การพัฒนาระบบเครือข่าย
หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย
เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล
การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไร
สายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก
(Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง
ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก
ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย
อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ
ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า
"Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ
มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย
|
|
8.เครือข่ายLANและWAN
หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ
ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว
โดยเฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์
ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง
โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน
จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ.
1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ
Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ
พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย
ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก
ต่อมา Licklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม อเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA
ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน
PACKET SWITCHING EMERGED
ความคิดในช่วงแรกของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาศัยหลักการพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด จึงเรียกว่า
"การสวิตช์วงจร" (Circuit Switching) จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด
ทำให้ใช้ข้อมูล ข่าวสารในเครือข่ายไม่เต็มประสิทธิภาพ
และมีข้อยุ่งยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมาก Leonard Kleinrock แห่งมหาวิทยาลัย
MIT ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครือข่ายให้มีการรับส่ง ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต
(Packet) โดยได้เสนอบทความในวารสารตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี
ค.ศ. 1961 ต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่มในปี ค.ศ. 1964 และเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน
การสื่อสารบนเครือข่ายแบบแพ็กเก็ต (Packet) เป็นวิธีการที่ให้ผู้ส่งข่าวสารแบ่งแยกข่าวสารเป็นชิ้นเล็ก
ๆ บรรจุเป็นกลุ่มข้อมูล โดยมีการกำหนดแอดเดรสปลายทางที่จะส่งข่าวสาร หลังจากนั้นระบบจะนำแพ็กเก็ต
นั้นไปส่งยังหลายทาง
ในปี ค.ศ. 1965 มีการทดลองการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างมหาวิทยาลัย
MIT กับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ผ่านทางสายโทรศัพท์และใช้หลักการแพ็กเก็ต
ความคิดทางด้านการรับส่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็ก ๆ แบบแพ็กเก็ตได้รับการยอมรับ
จนในที่สุดมีการพัฒนาจากแนวความคิดนี้ไปหลายแนวทาง
จนได้วิธีการรับส่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง
ๆ เช่น 25, TCP/IP, Frame Relay etc. เมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงถึงกัน
ก็เกิดแนวคิดในการสร้างมาตรฐานที่จะทำให้ระบบการเชื่อมโยงมีลักษณะเปิดมากขึ้น
กล่าวคือ การนำผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อมาเชื่อมต่อกันได้
จึงมีวิธีการแบ่งระดับการสื่อสารออกมาเป็นชั้น (Layer) แต่ละขั้นจะมีการวางมาตรฐานกลางเพื่อให้การเชื่อมเครือข่ายที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้
![]()
LAN
ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมด
จึงมีการแบ่งแยกเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน
เรียกว่า LAN (Local Area Network) และการเชื่อมโยงระยะไกล
ที่เรียกว่า WAN (Wide Area Network) เครือข่าย LAN เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถ ดูแลได้เอง
การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
เครือข่าย LAN แบบอีเทอร์เน็ต
มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส
คือ ทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว
ดังนั้นการรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่
ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น
โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่
หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่
การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้
เครือข่าย LAN
แบบโทเก็นริง มีความเร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง
ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใคร อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป
การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ เครือข่าย LAN ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากัน
แต่ทุกตัวจะมีแอดเดรสประจำ และแอดเดรสเหล่านี้จะซ้ำกันไม่ได้
โดยปกติผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายได้กำหนดแอดเดรสเหล่านี้มาให้แล้ว เพื่อจะให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างมาตรฐานกันได้นั้น
มีวิธีการพัฒนาให้ระบบสามารถนำแพ็กเก็ต
เฉพาะของเครือข่ายมาใส่ในแพ็กเก็ตกลางที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ เช่น TCP/IP
ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเชื่อมเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน
WAN
เครือข่าย
WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล
อาจจะเป็นหลาย ๆ
กิโลเมตรดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก
เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64
Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง
กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต
โดยให้แต่ละอุปกรณ์มีแอดเดรสประจำ วิธีการรับส่งมีได้หลากหลาย
เราเรียกวิธีการว่า "โปรโตคอล (Protocol)" ดังนั้นจึงมีมาตรฐานการเชื่อมโยงใหม่เพื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะต้องถูกต้องเสมอ
ระบบการโต้ตอบเหล่านี้จึงเป็นมาตรฐานที่กำหนดของเครือข่ายนั้น ๆ
PUBLIC WAN
ดังนั้น เครือข่าย WAN จึงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
ระหว่างเมือง
หรือระหว่างประเทศและเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพจึงมีองค์กรกลางหรือผู้ให้บริการเครือข่ายสาธารณะเข้ามาช่วยจัดการเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
เช่น เครือข่ายสาธารณะที่ใช้ร่วมกันของทศท. และกสท.
หรือ เครือข่ายบริการ เช่น ดาต้าเนต
เป็นต้น
เครือข่ายในปัจจุบันมีการเชื่อมเครือข่าย
LAN หลาย ๆ เครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน
จะเป็นอีเทอร์เน็ตหรือโทเก็นริงก็ได้ แล้วยังเชื่อมต่อออกจากองค์กรผ่านเครือข่าย
WAN ทำให้เครือข่ายทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน
จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้มีความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล ซึ่งเครือข่าย
WAN ที่ใช้ตัวกลางเป็นเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber
Optic) สามารถส่งรับข้อมูลได้เร็วไม่น้อยกว่าเครือข่าย LAN การพัฒนาเทคโนโลยีบนถนนเครือข่าย LAN และ WAN
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ
ซึ่งจะไปได้ไกลเพียงใด ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของประเทศ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่ต้องพัฒนาไปด้วย
คำว่า
Information Super Highway ก็คือถนนเครือข่าย
WAN ที่เชื่อม LAN ทุกเครือข่ายเข้าด้วยกันนั่นเอง
เขียนโดย : รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
|
|
9.ความรู้เกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัส
คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น
ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง
หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส
หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่
ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส
แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น
เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น
ประเภทของไวรัส
|
บูตเซกเตอร์ไวรัส
Boot Sector
Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์
ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก
เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ
ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง
บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส
ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master
Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่
ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้
ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน
หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา
แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โปรแกรมไวรัส
Program
Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม
ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย
โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ
การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว
ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น
หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่
จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของไวรัส
โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส
ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้
โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง
จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป
ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม
ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่
ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ
ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก
นั้นทำงานตามปกติต่อไป
ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น
โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ
ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที
ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด
โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง
เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส
คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง
หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส
เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ
และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง
แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ
ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม
ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย
ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้
โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic
Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง
ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ
ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ
โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ
ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
สทีลต์ไวรัส
Stealth
Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น
ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ
โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส
จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส
เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม
ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว
อาการที่ว่านั้นได้แก่
§
ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
§
ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
§
วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
§
ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย
ๆ
§
เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
§
เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
§
แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
§
ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ
โดยหาเหตุผลไม่ได้
§
ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
§
ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
§
เครื่องทำงานช้าลง
§
เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
§
ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
§
เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน
เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่
§
ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย
การสแกน
โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกน
(Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner)
โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล
ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature)และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำ
บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ
เราสามารถตรวจสอบซอฟแวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่
เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรก
แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ คือ
1.
ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ
แลครอบคลุมไวรัสทุกตัว มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.
เพราะสแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มี
ซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
3.
ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก
เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้
4.
จึงทำให้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัส
จะเปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
5.
ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัสติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถ
ตรวจหาไวรัสนี้ได้
6.
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและ
ของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
7.
เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ๆ
ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องหาสแกนเนอร์ ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้
8.
มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน
และถ้าสมมติ
9.
ว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้ และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่
เมื่อมีการ
10.
เรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน
สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรม เพื่อตรวจสอบ
11.
ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูก
สแกนเนอร์นั้นอ่านได้
12.
สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้ คือ
ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี
13.
อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์
ที่ใช้มีขนาดสั้นไป
14.
ก็จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
การตรวจการเปลี่ยนแปลง
การตรวจการเปลี่ยนแปลง
คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและ
ข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่น ๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์
วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง
เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ
และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรม ภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่
จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้
ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ
สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ ๆ ได้
และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย
แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่าจะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่
และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น
และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก
เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใด ๆ ติดไวรัส
มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป
การเฝ้าดู
เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น
จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้งขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ
ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้
การทำงานโดยทั่วไปก็คือ
เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์
ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ
และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน
โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อน
โดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหา
ก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้ นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับ
ไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
ข้อดีของวิธีนี้คือ
เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ
ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์ จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ
จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง
และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์
จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน
ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ
จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
·
สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
·
สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์
อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
·
ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
·
อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
·
เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
·
เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
·
เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
·
เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
·
สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
·
เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
·
เมื่อเครื่องติดไวรัส
ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว
ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก
เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่
วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป
ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน
การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่
กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก
และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน
บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส
ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์
เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก
เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส
เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่
เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย
ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส
เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ
หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู
แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน
โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส
เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
การทำสำรองก็เพราะว่า
เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากฌปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง
เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม
ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ
หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ
ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม
เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ
ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง
ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ
ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง
แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี
ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที
เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้
10.ความรู้เกี่ยวกับโมเด็ม (Modems)
โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย
โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ได้ทั่วโลก
โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล
(digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
(analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า
โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate)
ผสมกัน หมายถึง
กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1.
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น
บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ
มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2.
ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล
(compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ
เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3.
ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล
หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4.
ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด
(error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5.
ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ
ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external
modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ
- ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ
ได้หลายอย่าง เช่
1. พบปะพูดคุย 2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 6. ส่ง - รับโทรสาร 7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ 3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 5. การบีบอัดข้อมูล 6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot ว่าที่ร.ต.วิชิต สุขประวิทย์ โรงเรียนด่านสวีวิทยา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 86130 โทร.(077)531254 |